ประวัติความเป็นมา
พิพิธภัณฑ์ไม้สักทองคุ้มเวียงเพชร สร้างขึ้นโดย คุณพยนต์ ปัญญาเพ็ชร ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ เริ่มต้นโดยการเข้าไปประมูลราคาไม้สักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(อ.อ.ป.) เพื่อนำมาค้าขาย และเก็บไม้สักทองบางส่วนที่ได้จากการชนะการประมูลมาสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ไม้สักทองคุ้มเวียงเพชร ใช้ระยะเวลาในการเก็บสะสมรวบรวมไม้สักทองเกือบ ๓๐ ปี และใช้เวลาจัดสร้างขึ้น ๗ ปีกว่า เพื่ออนุรักษ์ไม้สักทองประจำเมืองแพร่ ให้คนรุ่นหลังได้ชมความงดงามและยิ่งใหญ่ของไม้สักทอง อัตลักษณ์ของคนเมืองแป้ ดังคำขวัญประจำจังหวัดแพร่ที่ว่า “หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม” และทำเป็นแหล่งเรียนรู้ประจำท้องถิ่น เพื่อศึกษาค้นคว้า ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของไม้สักทองแพร่ ซึ่งอาจจะหาชมได้ยากแล้วในประเทศไทยและในต่างประเทศ **เกล็ดความรู้เพิ่มเติม ไม้สักจะเติบโตได้ดีในภาคเหนือ ในป่าผสมผลัดใบ หรือป่าเบญจพรรณ เนื้อไม้สักยังมีน้ำมัน และสารบางชนิด เช่น สารเทคโตควิโนน ซึ่งมีพิษต่อปลวกและเชื้อราบางชนิด ทั้งนี้ไม้สักทอง ๑ ต้น ยังมีแร่ทองคำปนอยู่ ๐.๕ พีพีเอ็ม(ppm คือ หน่วยส่วนในล้านส่วน) และไม้สักทอง ๒๖ ต้น เท่ากับ น้ำหนักทองประมาณ ๑ บาท (แหล่งที่มาจาก สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้)**
ประวัติบ้านเวียงทอง
การเริ่มต้นก่อร่างสร้างเมืองตอง(สันนิษฐานว่าเป็นจุดเริ่มต้นสร้างเมืองแพลหรือเมืองแพร่ในอดีต) ราว ๗๐๐ กว่าปี อยู่ในช่วงสมัยของพระยาลือไท(ลิไท) คนเวียงตองหรือเมืองทองในอดีต แต่เดิมเป็นอาณาเขตของ อาณาจักร สุโขทัย เมืองลูกหลวง (หัวเมืองชั้นใน)
เป็นเมืองหน้าด่านตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง ๔ ทิศ ทิศเหนือ คือ เมืองแพร่ (ปัจจุบันคือแพร่) ติดกับศรีสัชนาลัยเป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด ทิศใต้ คือ เมืองพระบาง (ปัจจุบันคือนครสวรรค์) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้
ทิศตะวันตก คือ เมืองฉอด (ปัจจุบันคือแม่สอด) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ ทิศตะวันออก คือ เมืองสะค้าใกล้แม่น้ำโขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ เมืองลูกหลวงเหล่านี้ กษัตริย์จะทรงแต่งตั้งพระราชโอรส หรือเจ้านายเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงไปปกครองดูแล โดยรับนโยบายจากเมืองหลวง เวียงทองเป็นชุมชนดังเดิม
สืบเชื้อสายชาวสุโขทัยแต่ในอดีต อาชีพในสมัยก่อนคือการร่อนทองตามแม่น้ำยม เล่ากันว่า พระยาลิ้นตองเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรเวียงทองขึ้นในสมัยนั้น ได้นำกำลังพลบางส่วนเดินทางขึ้นเรือ ออกจากท่าน้ำศรีสัชนาลัย ลัดเลาะขึ้นเหนือมาตามแม่น้ำยม แล้วมาลงที่ท่าน้ำลานผาสุก
โดยมีพระยาไซยมัง และพระยาคำลือติดตามมาด้วย ได้แบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหัวเมืองด้านทิศตะวันออกปกครองโดย พระยาไชยมัง ส่วนใจกลางเมืองปกครองโดย พระยาลิ้นตอง(ผู้ปกครองนครเวียงตอง)
ส่วนท้ายเมืองด้านทิศตะวันตกปกครองโดย พระยาคำลือ(คำเขื่อน) ได้ร่วมกันก่อสร้างเวียงทอง (เมือง,แคว้น คือ กำแพงหรือฮั่วบริเวณเมืองที่ถูกล้อมรอบไปด้วยคูน้ำ และ กำแพง หรือเมืองในสมัยก่อนเชียงแสนจนถึงล้านนา ส่วนมากจะถูกใช้เรียกในภาคเหนือและประเทศเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้ เวียง ยังเป็นหนึ่งในจตุสดมภ์ ชึ่งหมายถึง เมือง ซึ่งมีขุนเวียงเป็นผู้ดูแล สำหรับเวียงโบราณนั้นมีหลายแห่ง) เริ่มต้นโดยการสร้างสันคือหรือกำแพงเมือง("อั่ว" ภาษาเหนือ,ล้านนา) ที่เวียงป่าเปล้าดอนจัย(บริเวณบ้านเขื่อนคำลือปัจจุบัน)
ติดน้ำยมขึ้นมาตลอดแนวจนถึงสามเหลี่ยม บริเวณห้าแยก หมู่ที่ ๑๐ ถึง หมู่ที่ ๗ ปัจจุบันไม่หลงเหลือร่องรอยของสันคือเพราะชาวบ้านต่างปรับพื้นที่ดินปลูกบ้านเรือนเพื่อเป็นอยู่อาศัย พระยาลิ้นตอง เป็นผู้ก่อตั้งวัดทองเกตุ(วัดเก่า)
พระยาไชยมัง เป็นผู้ก่อตั้งวัดไชยมาตย์ และพระยาคำลือ เป็นผู้ก่อตั้งวัดเขื่อนคำลือ เล่ากันว่าในสมัยนั้น ขณะที่พระยาลิ้นตองกำลังขี่ม้าขาวออกตรวจราชการบ้านเมือง เพื่อก่อร่างสร้างเมืองอยู่นั้น ได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ถึงการจากไปของภริยา(แม่เจ้าเฮียงคำ)
ได้จมน้ำเสียชีวิต ในระหว่างที่กำลังลงไปเล่นน้ำหรืออาบน้ำ แล้วถูกกระแสน้ำวนดึงร่างลงไปใต้น้ำ ว่ากันว่าขนาดเรือยาว ๑๒ ที่นั่ง ยังจมหายไปทั้งลำ ทำให้พระยาลิ้นตองได้เสียพระทัยเป็นอย่างมาก
ภายหลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น พระยาลิ้นตอง กับพระยาไชยมัง จึงนำไพร่พลบ้านเวียงทองบางส่วน อพยพขึ้นเหนือข้ามแม่น้ำยมฝั่งวัดทองเกตุเก่า ผ่านหมู่ ๙ เดินทางผ่านถนนพญาพล(พระยาลิ้นตองจึงถือโอกาสนี้ได้สถาปนาชื่อขึ้นมาใหม่เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ นามว่า "พระยาพล") ขึ้นไปตั้งรกรากสร้างเมืองขึ้น ตลอดจนเป็นเมืองแพร่ในปัจจุบัน และให้พระยาคำลือปกครองเวียงทองสืบไป
** ต่อมาสายน้ำยมได้เปลี่ยนสายมายังบริเวณริมฝั่งวัดทองเกตุเดิม ทำให้บริเวณโบสถ์วัดทองเกตุเก่าถูกน้ำกัดเซาะพังเสียหาย จึงต้องยกพระประธานภายในโบสถ์ออกมาไว้ริมข้างแม่น้ำยมแล้วสร้างศาลาครอบไว้อีกที **
สาระน่ารู้ "เมือง ในสมัยก่อนนั้นเรียกว่า เวียง และ ทอง ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า ตอง หรือคำ"
อาชีพในสมัยก่อนประกอบอาชีพร่อนทองคำตามริมฝั่งแม่น้ำยม ต่อมาทำอาชีพย้อมฮ้อมทำเสื้อหม้อฮ้อมขาย และปัจจุบันส่วนใหญ่ทำอาชีพค้าขายไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้สักประจำหมู่บ้าน
ชื่อเรียกตามหมู่บ้าน
- บ้านไชยมาตย์ เรียกว่า บ้านสันป่าแย้(มีแย้เยอะ)
- บ้านทองเกตุ เรียกว่า บ้านฝั่งหมิ่น(อยู่ริมน้ำยม)
- บ้านน้ำบ่อ เรียกว่า บ้านนอกขี้รอหลังหม่น(ทำงานหนักหรือสู้งานไม่เกียจคร้าน)
- บ้านโพธิสุนทร เรียกว่า บ้านใต้เก๊าศรี(มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่อยู่ภายในวัด)
- บ้านเขื่อนคำลือ เรียกว่า บ้านป่าเปล้าดอนจัย(มีต้นเปล้าเยอะ)
- บ้านผาสุก เรียกว่า บ้านหล่ายน้ำ (อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำยม)
ความเป็นมาของจังหวัดแพร่
จังหวัดแพร่ บนหลักการความเป็นจริง ถ้าอ้างอิงตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของเมืองแพร่ที่มีอยู่จริง อ้างอิงจากศิลาจารึกที่วัดหลวงจังหวัดแพร่ ประวัติผู้สร้างวัดพระธาตุช่อแฮ และวัดพระธาตุจอมแจ้ง(พระยาลิไท) ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องกับเมืองกรุงเก่าสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย จึงสันนิษฐานได้ว่า จังหวัดแพร่เป็นส่วนหนึ่งของกรุงสุโขทัย ถ้าจะสืบหาประวัติศาสตร์ที่แท้จริงแล้วนั้น เป็นไปไม่ได้ที่ประชาชนทั่วไปจะรู้หนังสือก่อนพ่อขุนรามคำแหงและอ่านออกเขียนได้ รวมไปถึงตั๋วธรรม ตั๋วเมือง(อักษรธรรมล้านนา) อักษรขอม มอญ หรือพม่า ประชาชนทั่วไปใช้ภาษาในการสื่อสารเท่านั้น(ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ ส่วนใหญ่จะใช้ในการบอกเล่าหรือเล่าสู่กันฟังมากกว่า) นอกเสียจากผู้ที่มีความรู้หรือเจ้านายชั้นสูงที่จะจารึกตัวอักษรไว้ให้คนรุ่นหลังได้อ่าน
ดังนั้นหลักฐานที่สำคัญ จึงต้องอาศัยโบราณวัตถุของแต่ละพื้นที่เป็นเครื่องยืนยันถึงการมีอยู่จริงตามประวัติศาสตร์ ว่าอยู่ในยุคสมัยไหน ในส่วนของภาพถ่ายบุคคลเจ้าเมืองต่างๆ บุคคลในทางประวัติศาสตร์ ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นหลังยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๔) และรัชกาลที่ ๕ ที่พวกชาติตะวันตก พึ่งนำกล้องถ่ายภาพเข้ามาใช้ในประเทศไทย
จึงเกิดรูปภาพของบุคคลตั้งแต่สมัยนี้ เป็นต้นไป และการใช้นามสกุลจะอยู่ในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๖) ดังนั้นในช่วงยุคกรุงเก่าสุโขทัยและอยุธยา ตลอดไปจนถึงยุคสมัยของรัชกาลที่ ๕ จะยังคงใช้ชื่อเรียกและนามสร้อยในกรณีที่ชื่อซ้ำกัน ยกตัวอย่างเช่น นายเข้ม ดาบคู่ หรือนางแดง บ้านใต้ และใช้เรียกเจ้านายชั้นสูงตามพระนามเดิมเช่น พระยาพล, พ่อขุนหาร มือเหล็ก, แม่เจ้ารำพัน เป็นต้น ภายหลังจากมีการพระราชทานให้ใช้นามสกุลต่อท้ายชื่อในช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ ๖ กลุ่มคนรุ่นหลังที่สืบทอดเชื้อสายจากเจ้านายชั้นสูงก็ยังคงใช้พระนามเดิม และใส่นามสกุลต่อท้ายตามที่ตนเองได้รับพระราชทานสกุลดังนี้ พระยาอินทรบดี(อินต๊ะ ปัญญาเพ็ชร) เป็นต้น และจะสิ้นสุดการสืบสันตติวงศ์ลง เพราะได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปตามยุคตามสมัย
ประชากรในจังหวัดแพร่ประกอบไปด้วยกลุ่มคนหลากหลายเชื้อชาติ อาทิเช่น กลุ่มชนชาติลาวและเวียด ในสมัยยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๕) ได้เสียดินแดนในฝั่งของประเทศลาวให้แก่ฝรั่งเศษ จึงได้อพยพผู้คนเข้ามาทางจังหวัดน่าน และเข้ามาอาศัยอยู่ทางด้านเหนือตอนบนของจังหวัดแพร่บางส่วน(เรียกว่าไทพวน)
กลุ่มชนชาติจีน ๑๒ ปันนา(ไทลื้อ) กลุ่มเงี้ยว ล้านนา(ไทเขิน) สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และชนเผ่าต่างๆ จึงมีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม และประเพณีพื้นบ้านของแต่ละชุมชน ลักษณะของภูมิประเทศ มีภูเขาล้อมรอบทั้ง ๔ ทิศ เป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญ เช่น ข้าว ข้าวโพด พริก ลองกอง ลางสาด
ส้มเขียวหวาน เป็นต้น เป็นป่าไม้เบจพรรณ มีอุทยานแห่งชาติที่สมบูรณ์ และเป็นแหล่งปลูกไม้สักทองชั้นเลิศ ส่วนผสมในดินมีแร่ทองคำปะปนอยู่ ทำให้ไม้สักมีเนื้อสีทอง ซึ่งไม้สักเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดแพร่ ปลูกง่าย ตายยาก เมื่อตัดทิ้งตอไม้ไว้ก็จะสามารถแตกหน่อขึ้นมาใหม่ได้เอง เป็นพืชโตไว ๒๐-๓๐ ปีก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ใช้สอยได้
จัดสร้างร่มฉัตรถวายพระยาไชยบรูณ์
วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑ ครอบครัว ปัญญาเพ็ชร ได้จัดสร้างถวายร่มฉัตรปิดทองคำเปลวแก่อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์ ข้าหลวงคนแรกหรือเป็นผู้ว่าราชการคนแรกของเมืองแพร่
ร้านเวียงเพ็ชรคาเฟ่ พิพิธภัณฑ์ไม้สักทองคุ้มเวียงเพชร
ขอเรียนเชิญนักท่องเที่ยวทุกท่าน แวะชิมกาแฟ และชมความสวยงาม อลังการงานสร้างบ้านไม้สักทองของเมืองแพร่
ผู้สนับสนุน
เปิดรับผู้เช่าขาย อาหาร/กาแฟเครื่องดื่ม และอื่นๆ ณ บริเวณ "พิพิธภัณฑ์ไม้สักทองคุ้มเวียงเพชร" ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
อาหารและเครื่องดื่ม
รับจัดงานเลี้ยง งานสังสรรค์ โต๊ะจีน งานแต่งงาน งานสันทนาการ งานดนตรี งานรื่นรมณ์ และ ฯลฯ ขอแจ้งความประสงค์ ขอใช้พื้นที่ ได้ที่ สำนักงานพิพิธภัณฑ์ไม้สักทองคุ้มเวียงเพชร ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ เดือน
บริการห้องพัก/Room Services
เปิดจองห้องพักล่วงหน้าได้ที่นี่
จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน
Magnam dolores commodi suscipit. Necessitatibus eius consequatur ex aliquid fuga eum quidem. Sit sint consectetur velit. Quisquam quos quisquam cupiditate. Et nemo qui impedit suscipit alias ea. Quia fugiat sit in iste officiis commodi quidem hic quas.
- All
- App
- Card
- Web
สถานที่ติดต่อสอบถาม/Contact
สำนักงาน พิพิธภัณฑ์ไม้สักทองคุ้มเวียงเพชร ตั้งอยู่ที่ บ้านผาสุก 180 หมุ่ 8 ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
Golden Teak Wood Museum Office, Wiang Phet, for Phasuk villagers, 180 Moo 8, Wiang Thong Subdistrict, Sung Men District, Phrae.
Location:
บ้านผาสุก 180 หมู่ 8 ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ 54000
Email:
wiangphet.group@gmail.com
Call:
+6695 195 5332